วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การลงทุน

การนำเงินไปลงทุน
1.เงินฝากธนาคาร ได้แก่ ฝากออมทรัพย์ ฝากประจำ ฝากแบบพิเศษ
2.ลงทุนกองทุนรวม ได้แก่ ตราสารหนี้ ตราสารทุน
3.ซื้อพันธบัตร ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ
4.ลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ซื้อที่ดิน ซื้อคอนโดมิเนียม
5.ลงทุนในตราสารทุน ได้แก่ ซื้อหุ้น
6.ลงทุนในอนุพันธ์ ได้แก่ ฟิวเจอร์ส ออปชั่น สต็อกฟิวเจอร์ส โกลด์ฟิวเจอร์ส เป็นต้น

กฎเกณฑ์การลงทุนก็คือ เสี่ยงน้อย ได้ผลตอบแทนน้อย เสี่ยงมาก ได้ผลตอบแทนมาก นี่เป็นกฎพื้นฐานนะค่ะ

ผู้อ่านที่อายุไม่มากสามารถลงทุนได้ทุกประเภทเลยค่ะ สำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปี ควรลงทุนเฉพาะเงินฝากและพันธบัตรรัฐบาลเท่านั้นนะค่ะ เพราะต้องลดความเสี่ยงให้น้อยที่สุดหรือเท่ากับศูนย์เลยทีเดียวค่ะ


การลงทุนในเงินฝาก
การฝากเงินมีอยู่ 2 ประเภทคือ
1.การฝากออมทรัพย์
2.การฝากประจำ

การฝากออมทรัพย์ เป็นการฝากเงินไม่กำหนดระยะเวลาแน่นอน คือ ฝากเมื่อไหร่ก็ได้ ถอนเมื่อไหร่ก็ได้เช่นกัน ความไม่แน่นอนเรื่องระยะเวลาฝาก ทำให้ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยให้ในอัตราที่ต่ำเพราะธนาคารต้องคอยกันเงินสำรองไว้เผื่อการถอนเงินของผู้ฝากนั่นเอง
เวลาจ่ายดอกเบี้ยออมทรัพย์ ปกติปีละ 2 ครั้งคือ กลางปีเดือนมิถุนายน และปลายปีเดือนธันวาคม ปัจจุบันดอกเบี้ยออมทรัพย์อยู่ที่ 0.25% ต่อปี นับว่าน้อยมาก สำหรับการฝากประจำ เป็นการฝากเงินมีกำหนดระยะเวลาแน่นอน อัตราดอกเบี้ยจึงสูงกว่าออมทรัพย์เพราะธนาคารสามารถนำเงินไปลงทุนหรือปล่อยให้กู้ได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าผู้ฝากจะถอนเงินก่อนกำหนด หากผู้ฝากถอนก่อนดำหนดเวลาจะไม่ได้ดอกเบี้ยในอัตราที่ตกลงกันไว้ แต่อาจได้อัตราออมทรัพย์แทน ฝากประจำมีตั้งแต่ 3 เดือน 6เดือน 1ปี 2ปี หรือฝากแบบพิเศษ คือ ฝากทุก ๆ เดือน หรือตามโปรโมชั่นของแต่ละธนาคาร

การฝากเงินทุกประเภท ต้องเสียภาษี 15% เว้นแต่เป็นประเภทเงินฝากปลอดภาษี จึงจะได้รับการยกเว้น ผู้ฝากต้องเลือกว่าจะเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย หรือจะนำไปคำนวณรวมเพื่อประเมินภาษี ในภงด. นะค่ะ แล้วแต่จะเลือก บางท่านอาจไม่ทราบว่าเราเลือกได้นะค่ะ และอีกประการหนึ่งคือ การฝากออมทรัพย์ ธนาคารคิดดอกเบี้ยให้ทุกคืนนะค่ะ กล่าวคือ วันนี้เรานำเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ 1,000,000 บาท พรุ่งนี้เราถอนเงิน ทั้งหมด เราได้ดอกเบี้ย 1 คืน คือ 1 วัน แต่ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยนี้ตามที่บอกนะค่ะ คือ เดิอนมิถุนายน หรือเดือนธันวาคม เว้นแต่เราจะฝากวันนี้ พรุ่งนี้ปิดบัญชี ธนาคารจะคำนวณดอกเบี้ยให้หากเราปิดบัญชีนะค่ะ แต่ผู้อ่าน ถ้าไม่จำเป็นอย่าทำเช่นนี้เพราะธนาคารจะมองหน้าเรา และแอบตำหนิเราว่า ทำให้เค้าเสียเวลาได้นะค่ะ

การลงทุนในกองทุนรวม
กองทุนรวมมีหลายประเภทดังนี้คือ
1.กองทุนเปิด ไม่กำหนดระยะเวลา
2.กองทุนปิด มีกำหนดชัดเจน
3.กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เช่น BKKCP UOBAPF SPF TFUND เป็นต้น
4.กองทุนรวมแบบผสม
5.กองทุนรวมตราสารหนี้
6.กองทุนรวมตราสารทุน
7.กองทุนรวม LTF RMF

โดยหลักเกณฑ์แล้ว กองทุนจะมีวัตถุประสงค์ในการลงทุน และไม่สามารถไปลงทุนอย่างอื่นนอกเหนือไปจากที่ได้กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ ผู้อ่านจึงสามารถเลือกได้ว่าจะรับความเสี่ยงแบบไหน หรือชอบการลงทุนในรูปแบบใดโดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของกองทุนและดูผลงานย้อนหลัง และคาดคะเนแนวโน้มการลงทุนว่า กองไหนจะสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าการฝากเงิน

ที่สำคัญอีกอย่างคือ กองทุนรวมเหล่านี้มักจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้แก่ผู้ลงทุน ดังนั้น หากกองทุนใดให้ผลตอบแทนเท่ากับเงินฝากประจำที่อัตราดีที่สุด ก็แสดงว่า กองทุนนั้น ดีกว่าการฝากเงินแล้วค่ะ เพราะได้เปรียบเรื่องการเสียภาษี 15% ยิ่งถ้าให้ผลตอบแทนมากกว่า ก็ยิ่งดีนะค่ะ

การลงทุนในหุ้น
การลงทุนในหุ้นได้รับผลตอบแทน 2 แบบคือ
1.ส่วนต่างราคาของหุ้น capital gain
2.เงินปันผล dividend
ผลตอบแทนอื่น ๆ เช่น การแจก warrant การจ่ายหุ้นปันผล การแจกส่วนลดหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัท นอกจากนี้ ผู้ลงทุนมีหน้าที่คอยดูแลติดตามผลดำเนินงานของบริษัทด้วย และต้องเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเพื่อรับทราบนโยบายการทำงานของบริษัท ผู้ถือหุ้นคือ เจ้าของบริษัท ส่วนผู้ถือหุ้นกู้คือ เจ้าหนี้ของบริษัท
การลงทุนในหุ้นสามารถลงทุนได้ 2 แบบคือ
1.ลงทุนแบบพื้นฐาน fundamental เป็นการลงทุนระยะยาวหน่อย
2.ลงทุนแบบเก็งกำไร speculation มักเป็นการลงทุนระยะสั้น ๆ

นักลงทุนที่ลงทุนหุ้นพื้นฐาน เช่น กลุ่มพลังงานได้แก่ หุ้นปตท PTT หุ้นปตทสผ PTTEP หุ้นไทยออยล์TOP เป็นต้น กลุ่มธนาคาร ได้แก่ ธ.กรุงเทพBBL ธ.กสิกรไทยKBANK ธ.ไทยพาณิชย์SCB เป็นต้น กลุ่มหลักทรัพย์ ได้แก่ บล.กิมเอ็งKEST บล.เอเซียพลัสASP บล.คันทรีกรุ๊ปCGS เป็นต้น
หากผู้อ่านต้องการลงทุนหุ้นกลุ่มใด ประเภทใด ศึกษาหาข้อมูลเบี้องต้น เช่น ค่า PE ratio หมายถึง ราคาที่เหมาะสม Book value หมายถึงราคาประเมินตามมูลค่าบัญชี เป็นต้น ผู้อ่านท่านใด สนใจลงทุนหุ้นใด ๆ ปรึกษาการลงทุนได้นะค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น